โครงการการพัฒนาเกษตรกรเพื่อสร้างชุมชนการพึ่งพาตนเองด้านการจัดการสุขภาพปศุสัตว์เบื้องต้นมีจุดประสงค์
เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการดูแลสุขภาพสัตว์พื้นฐานของเกษตรกรและอาสาปศุสัตว์เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือ
ตนเองด้นการจัดการสุขภาพปศุสัตว์ในพื้นที่ในกลุ่มเกษตรกร จำนวน 7 กลุ่ม ประกอบ ด้วยเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ
5 กลุ่ม เลี้ยงแพะ 1 กลุ่ม และสุกร 1 กลุ่ม ในจังหวัดน่าน จากเก็บข้อมูลพื้นฐาน การจัดเวทีระดมความเห็นหา
เป้าหมายและปัญหาด้านสุขภาพสัตว์พบว่า เกษตรกรมีความต้องการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการดูแลสุขภาพ
สัตว์พื้นฐาน 7 กลุ่ม ต้องการมีกองทุนยาประจำกลุ่ม 2 กลุ่ม และยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพฟาร์มเพื่อ
ป้องกันโรคระบาด 1 กลุ่ม ทำการถอดประสบการณ์เดิมและประเมินความรู้ด้านการบันทึกประวัติสัตว์ การสังเกต
อาการสัตว์ป่วย ยาสัตว์พื้นฐาน และทักษะการบริหารยาเบื้องต้น พบว่าเกษตรกรยังขาดข้อมูลประวัติพื้นฐาน การ
ให้ผลผลิต และข้อมูลด้านสุขภาพ ยังไม่มีการบันทึกที่เป็นมาตรฐาน เกษตรกรส่วนใหญ่สามารถแยกแยะอาการสัตว์
ที่ผิดปกติออกจากสัตว์ปกติได้ แต่ยังมีปัญหาในสื่อสารระบุอวัยวะหรืออาการผิดปกติที่ถูกต้อง ยังไม่สามารถ
แยกแยะประเภทและสรรพคุณยาได้ชัดเจน กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์ในการบริหารยาที่ถูกต้อง
จึงได้จัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ประกอบด้วย แบบฟอร์มการบันทึกประวัติสัตว์
ประวัติการรักษา เพื่อนำข้อมูลมาบริหารจัดการฝูงสัตว์ของตนและสื่อสารกับสัตวแพทย์ในการรับบริการด้าน
สุขภาพต่อไป การใช้ยากลุ่มต่างๆที่หาได้ในพื้นที่เป็นสื่อเรียนรู้ ทดลองเตรียมยาและฉีดยากับหุ่นจำลอง จากนั้นจึง
ทำการคัดเลือกเกษตรกรที่มีผลการประเมินผ่าน มีจิตอาสา และเป็นที่ยอมรับในชุมชนมาเป็นเกษตรกรอาสา รวม
ทั้งหมด 32 ราย และอาสาปศุสัตว์ที่เข้าร่วมอบรม รวมทั้งหมด 30 ราย มาปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ ดังนี้ กลุ่มผู้เลี้ยง
โคเนื้อช่วยกันทำวัคซีนโรคปากเท้าเปื่อยประจำปีภายในพื้นที่ชุมชนของตนเองและบำรุงรักษาสุขภาพพื้นฐาน กลุ่ม
ผู้เลี้ยงแพะเนื้อทำการปฏิบัติการวางแผนประเมินการให้ยาถ่ายพยาธิในโดยมีการออกแบบและติดตามผลการรักษา
โดยเกษตรกร และสุดท้ายในกลุ่มผู้เลี้ยงสุกรให้ฝึกออกแบบยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพโดยการวางแผนการ
ปรับปรุงโรงเรือนตามหลักมาตรฐานฟาร์ม ผลการเติมความรู้และทักษะพบว่าเกษตรกรอาสาและอาสาปศุสัตว์มี
ความรู้และทักษะที่สูงขึ้น สามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้ตามเป้าหมายของแต่ละกลุ่มได้ตามลำดับ โดยรวมมี
เกษตรกรรายอื่นๆในพื้นที่ จำนวน 126 ราย และสัตว์จำนวน 477 ตัว ได้รับการบำรุงรักษาโดยกลุ่มเป้าหมายที่
ได้รับการจัดการความรู้นอกจากนี้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่ยังเกิดต้นแบบการสื่อสารระหว่างเกษตรกรอาสา
กับสัตวแพทย์ในพื้นที่จากระยะไกลเพื่อแจ้งเหตุสัตว์ป่วยเพื่อรับคำแนะนำและปฏิบัติการได้จริงในพื้นที่ มีการจัดตั้ง
กองทุนยาสัตว์ประจำกลุ่มเกษตรที่มีความต้องการ จำนวน 2 กลุ่ม โดยเกษตรกรวางแผนบริหารจัดการต่อเอง
ภายในกลุ่มจากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการสร้างเกษตรกรอาสาให้สามารถปฏิบัติการด้านการดูแลสุขภาพสัตว์
พื้นฐานในพื้นที่ได้นั้นจำเป็นต้องติดตั้งและจัดการความรู้เรื่องการจัดการประวัติสัตว์ การสังเกตอาการสัตว์ป่วย ยา
พื้นฐานในสัตว์ และทักษะการบริหารยาเบื้องต้น ให้มีความรู้พื้นฐานเพียงพอเพื่อสามารถสื่อสารกับสัตวแพทย์เพื่อ
รับคำแนะนำและนำคำแนะนำนั้นมาปฏิบัติการได้จริงในพื้นที่