Loading...

ผลการประเมินโครงการจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ (KM) และโครงการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อชุมชนสังคม (RC)


ในช่วงปี 2556 - 2562

( 1 )

การวิเคราะห์การบริหารจัดการแผนงาน/โครงการ KM and RC


หนึ่งในผลผลิตของโครงการ คือองค์ความรู้พร้อมใช้

1. มีหลักการในการกำหนดประเด็นและกลุ่มเรื่อง รวมทั้งการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกโครงการที่จะได้รับการสนับสนุน

  • โครงการการจัดการองค์ความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์ (KM)

    มีลักษณะเน้นจากบนลงล่าง (Top-down) เป็นหลัก ด้วยการกำหนดประเด็นและกลุ่มเรื่องจากคณะทำงานที่ วช. ได้ตั้งขึ้นมาเพื่อกำหนดประเด็นและกลุ่มเรื่องที่จะควรได้รับการสนับสนุน
    ใช้แผนยุทธศาสตร์สำคัญของประเทศกำหนดกรอบประเด็นหรือกลุ่มเรื่อง
    ให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ศึกษาความต้องการของพื้นที่ ซึ่งความต้องการนั้นต้องเชื่อมโยงกับประเด็นและกลุ่มเรื่องที่กำหนดโดยคณะทำงาน แล้วจึงนำส่งข้อเสนอโครงการมาให้คณะทำงานพิจารณากลั่นกรองโครงการ

2. KM และ RC เป็นกลไกเชื่อมโยงการผลิตและการใช้ประโยชน์วิจัย เชื่อมโยงกับแผนสำคัญทุกระดับของประเทศ เพราะในความสำคัญกับการใช้ประโยชน์งานวิจัย

  • โครงการการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ในชุมชนสังคม (RC)

    ลักษณะเน้นจากล่างสู่บน (Bottom-up) เป็นหลัก และได้ออกแบบประเด็นและกลุ่มเรื่องดังนี้
    1. รัฐบาลมอบหมาย วช. โดยตรงร่วมกับหน่วยหลักในการพัฒนาพื้นที่
    2. สถาบันการศึกษาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดเป็นผู้เสนอความต้องการองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ และทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง วช. กับจังหวัด
    3. ตามแนวทางการพัฒนาจังหวัดที่นายกฯ รองนายกฯ และรัฐมนตรีลงพื้นที่/ครม.สัญจร
    4. ความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มหาวิทยาลัยราชภัฎในพื้นที่ 4 ภูมิภาค และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง รวมทั้งสถาบันการศึกษาในพื้นที่

3. การออกแบบตัวชี้วัดผลิตผล ผลลัพธ์ และผลกระทบของโครงการ KM ไม่ต่างจากโครงการ RC

แต่โครงการ RC มีการกำหนดค่าเป้าหมายที่ชัดเจนกว่าโครงการ KM และมีระดับงานวิจัยและนวัตกรรม TRL ต้องระดับ 5 ขึ้นไป และ SRL 2 ขึ้นไป

( 2 )

การประเมินวิเคราะห์การตอบโจทย์ OKR ของโครงการ KM และ RC


หนึ่งในผลผลิตของโครงการ คือองค์ความรู้พร้อมใช้

โครงการ KM และ RC มีทั้งหมด 396 ผลงานวิจัยและองค์ความรู้พร้อมใช้ประโยชน์ ประมาณร้อยละ 95.1 เป็นคู่มือและสิ่งตีพิมพ์ รองลงมาคือผลิตภัณฑ์ต้นแบบร้อยละ 42.2 และเครื่องมือและเทคโนโลยีต้นแบบร้อยละ 27.6 นอกจากนี้ยังพบอีกว่าองค์ความรู้ที่นำไปใช้ประโยชน์ ผ่านโครงการ KM และ RC ที่เชื่อมโยงแพลตฟอร์ม 2 (O2) Program 9a Program 7 และ Program ที่ วช. ต้องรับผิดชอบ KR

  • องค์ความรู้ทั้งหมดเพื่อหนุนเสริมสังคมคุณภาพและความั่นคงในทุกมิติ โดยเฉพาะในส่วนของเศรษฐกิจชุมชนมีความมั่นคง ศักยภาพ ของกลุ่มด้อยโอกาส โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ และร้อยละ 40 สามารถเข้าถึงอาชีพและบริการของภาครัฐ จึงสามารถเชื่อมโยงกับ Program 9a KR 2.9a.3
  • ร้อยละ 40 ขององค์ความรู้ทั้งหมดเป็นองค์ความรู้/เทคโนโลยีด้านการเกษตร เชื่อมโยงกับ Program 7 KR 2.7.2
  • ร้อยละ 32 เป็นองค์ความรู้/เทคโนโลยีด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงกับ Program 7 KR 2.7.2

โดยองค์ความรู้นี้เมื่อถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องเกิดประสิทธิผล (ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบ) โดยมีเป้าหมาย (Objective) ให้องค์ความรู้นี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อแก้ไขปัญหาและตอบโจทย์ด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านการเกษตร ด้านสังคม และความั่นคงในทุกมิติ

( 3 )

การประเมินผลสัมฤทธิ์ (ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ) โครงการ KM และ RC


เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือ Objective ที่ตั้งไว้หรือไม่

1. วัตถุประสงค์ (Objective)

  • การบริหารจัดการผลงานวิจัยและนวัตกรรม/องค์ความรู้พร้อมใช้และขยายผล
  • การถ่ายทอดองค์ความรู้พร้อมใช้สู่การใช้ประโยชน์

2. ประหยัดงบประมาณ (Economy)

  • โครงการ KM มีต้นทุนโครงการเฉลี่ยประมาณ 709,407.14 บาทต่อโครงการ
  • โครงการ RC มีต้นทุนโครงการเฉลี่ยประมาณ 1,821,104.82 บาทต่อโครงการ

3. ประสิทธิภาพ (Efficiency)

  • ความพีงพอใจของผู้ใช้ประโยชน์กระบวนการถ่ายทอดสูงถึงประมาณ 8.53 จาก 10 คะแนน
  • ความสำเร็จของการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การใช้ประโยชน์

การลงทุนเพื่อจัดการความรู้พร้อมใช้และถ่ายทอดองค์ความรู้ ผู้รับประโยชน์สามารถดูดซับความรู้ที่เกิดจากการอบรม นำความรู้ไปเผยแพร่และประยุกต์ใช้ได้สูงถึง 7.74 เท่า

Demand Side: ผู้ใช้ประโยชน์สามารถดูดซับความรู้ ประยุกต์ใช้ และขยายผลได้สูง ระดับความสำเร็จสูงทำให้ SROI สูงด้วย

Supply : ผู้รับทุน/นักวิจัย Demand : ผู้รับผลประโยชน์
การลงทุนโครงการ MK และโครงการ RC มีความคุ้มค่าเพราะลงทุนสนับสนุนโครงการวิจัยทุก ๆ 1 บาท ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมสูงถึง 17.28 บาท

4. ประสิทธิผล (Effectiveness)

  • ความพีงพอใจของผู้ใช้ประโยชน์ผลงาน วช. ร้อยละ 98.5

5. ผลผลิต (Outputs)

  • องค์ความรู้พร้อมใช้ 396 องค์ความรู้ ในรูปของคู่มือ สิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
  • มีพื้นที่ใช้ประโยชน์องค์ความรู้

    1,585 แห่ง เป็น 1,385 หมู่บ้านทั่วประเทศ
    107 กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน ใน 34 จังหวัด
    93 ศูนย์การเรียนรู้ใน 44 จังหวัด

  • ผู้ได้รับประโยชน์ 62,031 คน
  • เกษตรกร 11,031 คน
    ประชาชนทั่วไป นิสิต นักศึกษา 22,867 คน
    ผู้ประกอบการ 6,012 คน
    หน่วยงานภาครัฐ/ผู้กำหนดนโยบาย/นักวิจัย/นักวิชาการ/อื่น ๆ 22,121 คน

6. ผลลัพธ์ (Outcomes)

  • การใช้ประโยชน์

    เชิงเศรษฐกิจ
    เชิงสังคม/ชุมชน
    เชิงวิชาการ
    เชิงนโยบาย

  • ความสามารถทางวิชาการ ร้อยละ 76
  • เกษตรกร/ชุมชน ได้รับเทคโนโลยี/ผลิตภัณฑ์/แนวปฏิบัติใหม่ ๆ ร้อยละ 92
  • ขับเคลื่อนนโยบายเพื่อสังคม ร้อยละ 54
  • ความเชื่อมโยงเครือข่าย มี Bonding 8.37 จาก 10 คะแนน

7. ผลกระทบ (Impact)

  • เกิดความชำนาญและสิทธิบัตร
  • ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต คุณภาพชีวิต
  • รักษาสิ่งแวดล้อม องค์กรมีศักยภาพ