การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ภายในครัวเรือน เป็นโครงการที่ได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ดำเนินการในพื้นต่างๆ ตามความต้องการของเกษตรกรในชุมชนระดับครัวเรือน โดยได้ทำการดำเนินการให้การอบรม สาธิต และฝึกปฏิบัติทำบ่อแก๊สชีวภาพ ในพื้นที่เป้าหมาย คือ อำเภอโกสุมพิสัย จำนวน 10 แห่ง
การติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานในพื้นที่ต่างๆ หลังการฝึกอบรม สาธิต และการติดตั้งบ่อแก๊สชีวภาพ ทางคณะทำงานพบว่า เกษตรกรในชุมชนระดับครัวเรือนรู้สึกประทับใจและได้รับความรู้ ได้ใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมโครงการครั้งนี้เป็นอย่างมาก ในส่วนของการติดตั้งระบบผลิตแก๊สชีวภาพ จำนวน 10 จุด พบว่าทุกจุดสามารถผลิตแก๊สชีวภาพได้ครบทั้ง 10 จุด และสามารถนำแก๊สชีวภาพที่ได้ไปใช้ทดแทนแก๊สหุงต้มเพื่อการประกอบอาหารในครัวเรือนได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องใช้แก๊สหุงต้ม ฟืน และถ่าน รวมไปถึงการประหยัดน้ามันเชื้อเพลิงที่ต้องใช้ในการไปซื้อ ฟืน หรือถ่าน หรือแก๊สหุงต้ม ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนได้โดยเฉลี่ยต่อเดือนลดลงมากกว่า 400 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน (อ้างอิงราคาขายแก๊สหุงต้ม 1 ถัง ราคาถังละ 390 บาทต่อถังบรรจุ 15 กิโลกรัมเขต จังหวัดมหาสารคาม ,ราคาฟืนกิโลกรัมละ 15 บาท, ราคาถ่านกระสอบปุ๋ยละ 140 บาท) ซึ่งถ้าเกษตรกรชุมชนระดับครัวเรือนลงทุนติดตั้ง ราคาลงทุนจะอยู่ที่ 6,000 - 7,000 บาท (เฉลี่ย 6,500 บาท) แต่ผลประหยัดที่ได้อย่างน้อย 4,000 บาทต่อปี ทำให้ระยะเวลาคืนทุนจะอยู่ที่ 14 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาการลงทุนที่มีระยะเวลาการคืนทุนสั้น และให้ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่สูง ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ช่วยลดปัญหาเรื่องมลภาวะและปัญหาทางสังคมพื้นฐาน