การดำเนินงานของโครงการ “ถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดเก็บข้อมูลระดับพื้นที่ เพื่อการบริหารจัดการ น้ำของกลุ่มเกษตรกร ตำบลยางสักกระโพหลุ่ม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์” ขั้นตอนกระบวนการวิจัยเริ่มต้นด้วยการจัดประชุมทีมวิจัยเพื่อทำความเข้าใจรายละเอียดของโครงการ และเตรียมความพร้อมในการทำงานวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิชาการ นักวิจัยในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานและวางแผนปฏิบัติงานกระบวนการดำเนินงานวิจัย โดยจะเน้นการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ ซึ่งต้องเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัย มีส่วนร่วมในผลประโยชน์ และรวมไปถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน มีส่วนร่วมในการประเมินผล โดยนักวิจัยใช้กระบวนการการสร้างกิจกรรมแบบอาสาสมัครร่วมกับชุมชน เพื่อให้เกิดการยอมรับ โดยหลักการในการบริหารแบบมีส่วนร่วมของ โคเฮน และอัพฮอฟ คือ การจัดสรรหน้าที่และอำนาจในการปฏิบัติงานให้กับนักวิจัยในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างนักวิจัยและชุมชนรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จากการถอดบทเรียนทำให้เห็นถึงระโยชน์จากกงานวิจัยว่า การแก้ไขปัญหาของ ชุมชนต้องมาจากตัวของชุมชนเอง และหน่วยงานด้านสถาบันการศึกษาก็เข้ามาส่งเสริมด้านเทคนิคและความรู้ทางด้านวิชาการ เมื่อทุกฝ่ายทำงานวิจัยร่วมกันจะทำให้รู้ขั้นตอนวิธีในการหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ “แนวทางการบริหารจัดการชลประทานที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่การเกษตร จะทำให้ชุมชนมีรายได้จากการต้อนรับคณะศึกษาดูงาน เช่น กลุ่มแม่บ้านรับทำอาหาร คนในหมู่บ้านสามารถนำผลผลิตทางการเกษตรมาจำหน่ายให้แก่ผู้มาศึกษาดูงาน โดยใช้วัสดุธรรมชาติมาใส่อาหาร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จักเป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้แก่คนในพื้นที่ที่ได้ร่วมดำเนินงานวิจัย และเกิดความรักและศรัทธาใน แหล่งที่มาของข้อมูล ลูกหลานในชุมชนได้เห็นแบบอย่างในการการทำงาน ก่อให้เกิดแบบอย่างที่ดีในการบริหารจัดการน้ำเพื่อกระจายสู่ผู้คนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบกันของคนในชุมชน เกิดชุมชนที่เข้มแข็ง ส่งเสริมต่อเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ต่อไป