โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดเศรษฐกิจในโรงเรือนปิดแบบใช้เทคโนโลยีและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ (ครองแครงเห็ด) เพื่อเพิ่มมูลค่า โดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ ใช้องค์ความรู้จากหลากหลายศาสตร์เข้ามาบูรณาการในการแก้ไขปัญหาของโรงเรือนต้นแบบ เพื่อให้ได้โรงเรือนต้นแบบใหม่ที่ดี มีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของการเพาะเห็ดของเกษตรกรในประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทย การเพาะเห็ดยังคงทาในโรงเรือนที่ไม่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม หรือมีการควบคุมสภาพแวดล้อมบางส่วน แต่ยังคงใช้ระบบที่ต้องพึ่งพาแรงงานคนในการทางาน ทาให้มีค่าใช้จ่ายของแรงงาน และยังไม่มีการสร้างสภาพแวดล้อมที่สามารถควบคุมได้ตรงตามความต้องการของเห็ด โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีโรงเรือนเพาะเห็ดแบบใช้เทคโนโลยีแก่กลุ่มเป้าหมายจานวน 70 คน ตั้งแต่การเตรียมก้อนเห็ด การเปิดดอกเห็ด รวมทั้งการแปรรูปเห็ดเพื่อจาหน่าย และทาการปรับปรุงโรงเรือนของเกษตรกรในกลุ่มเป้าหมายให้เป็นต้นแบบโรงเรือนเพาะเห็ดแบบใช้เทคโนโลยี โดยมีวิธีการดาเนินโครงการคือ 1. การจัดประชุมจัดการความรู้ (KM) จาก 3 กลุ่มคือ นักวิจัย บุคลากรของเกษตรและสหกรณ์จังหวัด และเกษตรกร เพื่อจัดการความรู้ในแต่ละประเด็นต่างๆ เพื่อสะสมองค์ความรู้จากผู้เกี่ยวข้อง 2. การถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตก้อนเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพให้กลุ่มเป้าหมายเพื่อได้เข้าใจกระบวนการผลิตก้อนเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ สามารถนาไปใช้ในการเปิดดอกได้คุณภาพดี ได้ผลผลิตปริมาณมาก ลดการเสียของก้อนเห็ดจากการติดเชื้อโรค 3. การลงพื้นที่เพื่อศึกษาบริบทการเพาะเห็ดของเกษตรกร รูปแบบโรงเรือนของเกษตรกร ขั้นตอนที่เกษตรกรใช้ในการเพาะเห็ด เพื่อให้ในการวางแผนการเลือกสรรและการปรับใช้เทคโนโลยีในการเพาะเห็ด สาหรับเกษตรกร 4. การลงพื้นที่เพื่อปรับปรุงโรงเรือนเพาะเห็ดของเกษตรกร ให้มีความเหมาะสมในการนาเทคโนโลยีไปติดตั้งอย่างเหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม 5. ติดตั้งเทคโนโลยีที่ได้เลือกสรรไปปรับใช้กับเกษตรกรในแต่ละกลุ่ม โดยใช้แบบสรุปร่วมกันกับเกษตรกรในการเลือกสรรและปรับใช้เทคโนโลยีเพื่อการเพาะเห็ดปลอดสาร 6. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะในโรงเรือนที่ใช้เทคโนโลยีในการควบคุมสภาพแวดล้อม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจกระบวนการเพาะเห็ดปลอดสารโดยใช้เทคโนโลยีในการควบคุมสภาพแวดล้อมในโรงเรือน 7. การถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ครองแครงเห็ด
โดยผลการดาเนินโครงการจัดการประชุมเพื่อจัดการความรู้ (KM) ในการเพาะเลี้ยงเห็ด มีกระบวนการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ 1. ขั้นตอนกระบวนการ (Process) ทาก้อนเชื้อเห็ด 2. วิธีการเปิดดอก 3. การดูแลโรงเรือนเพาะเลี้ยงเห็ด 4. การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเห็ด และ 5. การพัฒนาและการจัดการด้านการตลาด ผลจากการดาเนินกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบอบรมเชิงปฏิบัติการในการทาก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจในการเตรียมวัสดุ และสามารถทาก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าได้ โดยก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าที่เตรียมได้ จะนาไปใส่ในโรงเรือนเพาะเห็ดระบบปิดแบบใช้เทคโนโลยี เพื่อเพาะให้เชื้อเห็ดเดิน สามารถเปิดดอก เก็บดอกเห็ด เพื่อใช้ในการอบรมทั้งต่อไป
ทางทีมวิจัยได้ทาการลงพื้นที่เพื่อสารวจโรงเรือนของเกษตรกรทั้งที่สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงเห็ดลับแล ตาบลไผ่ล้อม อาเภอลับแล และวิสาหกิจชุมชนศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ตาบลไร่อ้อย อาเภอพิชัย พบว่า โรงเรือนของเกษตรกร ที่สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงเห็ดลับแล เป็นโรงเรือนปิดที่ล้อมด้วยผ้าใบ ไม่มีการระบายความร้อน ทาให้ภายในโรงเรือนมีความร้อนสะสมอยู่สูง ขณะที่โรงเรือนเพาะเห็ดของวิสาหกิจชุมชนศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ตาบลไร่อ้อย อาเภอพิชัย เป็นโรงเรือนปิด มีการใช้การฉีดพ่นน้าไปยังก้อนเชื้อเห็ดโดยตรง ทาให้ดอกเห็ดได้รับน้าปริมาณมาก ดอกเห็ดช้า แฉะ เก็บไว้ไม่ได้นาน ทางทีมวิจัยจึงติดตั้งพัดลมดูดอากาศ จานวน 2ตัว ที่โรงเรือนของเกษตรกรที่ สหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงเห็ดลับแล เพื่อช่วยระบายความร้อนออกจากโรงเรือน และติดตั้งเครื่องพ่นหมอก หรือละอองไอน้าในโรงเรือน เพิ่มลดการช้า แฉะของดอกเห็ด ที่โรงเรือนของเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน เนื่องจาก ในเชิงกระบวนการผลิตเห็ดนางฟ้าภูฐานจะออกดอกได้ดีที่อุณหภูมิไม่เกิน 30-32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมที่ 80-90% ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 2,000 ppm และแสงสว่างที่เพียงพอ
ผลจากการดาเนินกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบอบรมเชิงปฏิบัติการเปิดดอก เก็บดอกเห็ด และการแปรรูปผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เห็ด (ครองแครงเห็ด) ในครั้งนี้ พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการเก็บดอกเห็ด การบารุงรักษาก้อนเชื้อเห็ด รวมทั้งสามารถลงมือปฏิบัติการแปรรูปผลิตภัณฑ์เห็ด (ครองแครงเห็ด) ได้ และการติดตามการปรับปรุงโรงเรือนของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มสามารถปรับใช้เทคโนโลยีที่ติดตั้งในโรงเรือนได้ดี และสามารถผลิตผลผลิตเห็ดที่มีคุณภาพกว่าการผลิตแบบเดิมได้