งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเมล็ดกล้วยไม้ในแบบที่ชุมชนสามารถทำได้
- เพื่อให้เป็นชุมชนต้นแบบในการขยายพันธุ์กล้วยไม้แบบครบวงจร
- เพื่อนำต้นกล้าที่ได้จากการขยายพันธุ์ในสภาพปลอดเชื้อ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยดำเนินกิจกรรมในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สนใจการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ท้องถิ่นในจังหวัดกระบี่ 4 กลุ่ม คือ
- กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์กล้วยไม้พื้นถิ่น หมู่ 2 ตำบลแหลมสัก อำเภออ่าวลึก
- วิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์กล้วยไม้รองเท้านารี หมู่ 3 ตำบลดินอุดม อำเภอลำทับ
- วิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้กล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ หมู่ 4 ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง
- วิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงกล้วยไม้สมุนไพรเพื่อการอนุรักษ์และป้องกันรักษาโรค หมู่ 2 ตำบลหน้าเขา อำเภอเขาพนม
โดยทั้ง 4 กลุ่มได้จัดทำแปลงรวบรวมพันธ์กล้วยไม้ในกลุ่มของตนเองซึ่งพบว่าทุกกลุ่มมีกล้วยไม้รองเท้านารีเหลืองกระบี่ (Paphiopedilum exul)เป็นพืชหลัก รองลงมาคือเขากวางอ่อน (Phalaenopsis cornucervi) และเอื้องกุหลาบกระเป๋าเปิด (Aerides falcate) ชุมชนที่เป็นต้นแบบในการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเมล็ดกล้วยไม้ในสภาพปลอดเชื้อคือ วิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงกล้วยไม้สมุนไพรเพื่อการอนุรักษ์และป้องกันรักษาโรค ชุมชนที่เป็นต้นแบบในการนำต้นกล้ากล้วยไม้มาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรคือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนอนุรักษ์กล้วยไม้พื้นถิ่น สมาชิกทั้ง 4 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการปลูกเลี้ยงและอนุบาลกล้วยไม้ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายในเรืองการผลิตต้นกล้ากล้วยไม้และเครือข่ายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของชุมชนและมีการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มเพื่อหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องเข้าไปส่งเสริมได้