ปัจจุบันวิธีการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซาเกือบทุกชนิด
โดยเฉพาะเห็ดตับเต่ายังไม่สามารถเพาะใน ระบบโรงเรือนได้ ต้องปลูกร่วมกับพืชอาศัยเท่านั้น
อีกทั้งมีผู้เพำะเห็ดชนิดนี้จำนวนน้อยรายเกษตรกรมีความ ต้องการและสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิต
ทั้งนี้เห็ดตับเต่า เป็นเห็ดป่าไมคอร์ไรซาที่เกิดตามธรรมชาติ มีมูลค่ำ ทางเศรษฐกิจสูงในประเทศไทย
ส่วนใหญ่จะเก็บช่วงฤดูฝนของทุกปี และมีปริมาณน้อยไม่เพียงพอต่อการบริโภค การดำเนินโครงการการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีต้นแบบการผลิตเห็ดตับเต่าแบบเลียนแบบธรรมชาติ
ที่สามารถช่วยลดปัญหาด้านการขาดแคลนอาหารในอนาคตโดยมุ่งเน้นที่แก้ปัญหาเรื่องการเพิ่มผลผลิตของเห็ดไมคอร์ไรซา
สร้างรายได้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ดังนั้นโครงการนี้เพื่อจัดการองค์ความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเห็ดตับเต่าแบบเลียนแบบธรรมชาติให้กับเกษตรกร
ชุมชนและเครือข่าย หน่วยงานในพื้นที่ และสร้างแปลงสาธิตต้นแบบการผลิตเห็ดตับเต่าในพื้นที่สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและ
พื้นที่ข้างเคียง ในพื้นที่เป้าหมาย 2 ชุมชนของจังหวัดสกลนคร ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์
ข้าวพื้นบ้าน ‘หอมดอกฮัง’ บ้านโคกสะอาด ต.อุ่มจาน อ.กุสุมาลย์และกลุ่มเกษตรกรบ้านบะหว้า
ต.บะหว้า อ. อากาศอำนวย การนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยการอบรมแบบมีส่วนร่วมให้กับเกษตรกรในพื้นที่
เป้าหมาย 2 พื้นที่ (อำเภอ) ในพื้นที่บ้านโคกสะอาด ต.อุ่มจาน
อ.กุสุมาลย์ มีเกษตรกรเข้ารับการอบรม 40 ราย และบ้านบะหว้า
ต.บะหว้า อ.อากาศอำนวย มีเกษตรกรเข้าร่วมอบรมทั้งหมด 42 ราย
สำหรับองค์ความรู้ เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม ที่นำไปถ่ายทอดเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มเป้าหมาย
คือ กระบวนการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยง การแยกเชื้อบริสุทธิ์และขยายเชื้อเห็ดตับเต่าทั้งในเมล็ดข้าวฟ่าง
และการ ขยายเชื้อแบบอาหารเหลว การเตรียมกล้าไม้ ได้แก่ ไม้ผลและไม้โตเร็วอายุประมาณ
1 ปี ไม้ผล เช่น มะม่วง ลำไย และไม้โตเร็ว เช่น หว้า ฝางแดง
ซึ่งเป็นพืชอาศัยของเห็ดตับเต่าแปลงละ 100 ต้น รวมทั้ง 2
พื้นที่ 600 ต้น เทคนิคการใส่เชื้อเห็ดลงในกล้าไม้ที่เป็นพืชอาศัยของเห็ดตับเต่า
การเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูก และการดูแลกล้า ไม้ภายหลังการใส่เชื้อเห็ด หลังจากนั้นจัดทำแปลงต้นแบบการเพาะเห็ดตับเต่าแบบเลียนแบบธรรมชาติใน
2 พื้นที่ จำนวน 6 แปลงๆละ 1 ไร่ ได้แก่ 1) พื้นที่ป่าชุมชนสำนักสงฆ์สิทธิธรรมคุณ
(SK01) 2) พื้นที่ป่าชุมชนวัดนักบุญ ยอห์นบอสโก (SK02)
3) แปลง นางลาวรรณ นำโควงค์(SK03) 4) พื้นที่ป่าชุมชนสระรวมใจบ้านบะหว้า
(SK04) 5) แปลงนายสินสวัสดิ์ นาขะมิ้น (SK05) และ 6) แปลงนางสะใบแพร วะเกิดเป๊ง (SK06) หลังกำรนำกล้าไม้ที่มี เชื้อเห็ดตับเต่าไปปลูกในพื้นที่เป้าหมาย กล้าไม้มีการตอบสนองต่อการเจริญเติบโตมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับต้น
ควบคุมในทุกแปลง ทั้งอัตราการรอดชีวิต ด้านความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับคอรากของลำต้น
ความกว้าง ทรงพุ่ม และสุขภาพของกล้าไม้สำหรับเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของกล้าไม้ที่ใส่เชื้อเห็ดตับเต่าของแปลงของ
เกษตรกรบ้านโคกสะอำด (SK01-SK03) ภายหลังการปลูก 3 และ 6 เดือน เท่ากับ 86-93 และ
85-93 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่แปลงของเกษตรกรบ้านบะหว้า
(SK04-SK06) มีเปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตของกล้าไม้ที่ใส่เชื้อ
เห็ดตับเต่าเท่ากับ 88-96 และ 50-95 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ
เมื่อตรวจเปอร์เซ็นต์การเกิดรากเอคโตไมคอร์ไรซา ของกล้ำไม้ระหว่างการใส่และไม่ใส่หัวเชื้อ
พบว่าต้นที่ได้รับการปลูกถ่ายเชื้อมีเปอร์เซ็นต์การติดรากเอคโตไมคอร์ไรซาสูงกว่าไม่ได้ใส่เชื้ออย่างชัดเจน
และจากการตรวจติดตามการเกิดเอคโตไมคอร์ไรซากับรากไม้ระยะ 6 เดือนหลัง
ปลูก พบว่าต้นกล้าไม้ที่มีการใส่เชื้อเพิ่มเติมมีเปอร์เซ็นต์การเกิดเอคโตไมคอร์ไรซากับรากไม้เพิ่มขึ้นจำกระยะ
3 เดือน หลังปลูกทั้ง 6 แปลง
โดยแปลงพื้นที่บ้านโคกสะอาดมีเปอร์เซ็นต์การเกิดรากเอคโตไมคอร์ซาอยู่ระหว่าง 30.01-32.51
เปอร์เซ็นต์ส่วนในพื้นที่บ้านบะหว้า มีเปอร์เซ็นต์การเกิดรากเอคโตไมคอร์ซาอยู่ระหว่าง
28.32- 34.38 เปอร์เซ็นต์จากการประเมินลักษณะทางกายภาพและสภาพแวดล้อมของพื้นที่แปลงต้นแบบบ้านโคก
สะอำด อ. กุสุมาลย์ และบ้านบะหว้า อ. อากาศอำนวย จ.สกลนคร และเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดดอกเห็ด
ลักษณะของดินของแปลงต้นแบบ พบว่ามี 3 ลักษณะ คือ ดินร่วน,
ดินร่วนปนทราย, และดินร่วนเหนียวปนทราย ค่ำความเป็นกรด-ด่างอยู่ในช่วง
5.4-6.5 มีความชื้นของดินอยู่ระหว่าง 10.90-21.39 เปอร์เซ็นต์และอุณหภูมิ ดินของแปลงต้นแบบ อยู่ระหว่าง 26.80-28.00 องศาเซลเซียส สำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเห็ดตับเต่า
เพื่อเป็นพื้นที่แปลงสาธิตต้นแบบการเพาะเห็ดของชุมชนนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร
โดยสามารถสร้างความเข้าใจและกระบวนการที่ถูกต้อง ในการผลิตเห็ดตับเต่าซึ่งเป็นเห็ดไมคอร์ไรซาที่ตรงตามความต้องการของชุมชน
โดยเน้นการมีส่วนร่วมให้ประชาชนร่วมกันแสดงความคิดเห็น และร่วมลงมือปฏิบัติตามความต้องการของ
ประชาชน เป็นการทำการเกษตรแบบ green technology เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลก
และชุมชน เป็นการส่งเสริมให้พึ่งพาตนเอง และพัฒนาเกษตรกรรมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและ สามารถพึงพาตนเองได้อย่างยั่งยืน