การดำเนินโครงการการส่งเสริมศักยภาพและความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนพึ่งพาตนเองตามแนวพระราชดำริ ในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรีมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการสู่กลุ่มเป้าหมาย 3 ชุมชน อย่างน้อย 6 นวัตกรรม และยกระดับผลิตภัณฑ์การผลิตสู่เชิงพาณิชย์ ตามแนวทางพระราชดำริพึ่งพาตนเองประกอบด้วย 3 ชุมชน ในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ได้แก่ 1.) วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนตำบลไร่มะขาม 2.) วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนโป่งสลอด 3) วิสาหกิจชุมชนทองม้วนน้ำตาลโตนดจากการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค์ (SWOT) SWOT Analysis ผลการวิเคราะห์พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มมีศักยภาพด้านผู้นำ ด้านวัตถุดิบหลัก โดยการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบในชุมชนเป้าหมาย ได้แก่ ปลายข้าวหอมปทุมธานี 1 เศษทองม้วน และลูกตาล ด้วยเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ของแต่ละชุมชนและมีความต้องการพัฒนา ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ได้ข้อสรุปเป็น 6 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้ (1) ผลิตภัณฑ์คุกกี้ทองม้วน รสช็อกโกแลต (2) คุกกี้ธัญญาหารทองม้วนรสมะม่วง (วิสาหกิจชุมชนทองม้วนน้ำตาลโตนด) (3) ลูกตาลแช่อิ่มอบแห้ง (4) เต้าฮวยเยลลี่ลูกตาลนมสด (วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนโป่งสลอด) (5) โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปรสหมู และ (6) ขนมขบเคี้ยวรูปแท่ง (วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนตำบลไร่มะขาม) ซึ่งทุกผลิตภัณฑ์ผ่านการยอมรับจากชุมชนร้อยละ 67-100 ต่อมาจัดการเพิ่มพูนความรู้ ทักษะด้านการแปรรูปอาหารที่ถูกหลักการมาตรฐานเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรมอาหารสู่ชุมชนเป้าหมายและสำนักงานเกษตรอำเภอบ้านลาด และสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 18-20 ตุลาคม 2654 จำนวนผู้เข้าร่วม 52 คน ขั้นตอนการยกระดับสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วยกิจกรรม 1. การออกแบบบรรจุภัณฑ์โลโก้สินค้าได้ต้นแบบบรรจุภัณฑ์ จำนวน 500 ชุดต่อผลิตภัณฑ์ 2. การอบรมให้ความรู้อบรมการสร้างแบรนด์ผ่านบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 จำนวนผู้เข้าร่วม 6 คน 3. จัดอบรมเรื่อง แนวทางการพัฒนาความยั่งยืนของวิสาหกิจ ระดับท้องถิ่น โดยวิถีเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อวันที่ 22-23 ธันวาคม 2564 จำนวนผู้เข้าร่วม 21 คน 4. การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลโภชนาการ วิเคราะห์ทางเคมี เพื่อนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ขั้นตอนสุดท้ายเป็นประเมินติดตามผลทางเศรษฐกิจและสังคมจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทั้ง 3 กลุ่ม สรุปว่าทางด้านเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่าจะสามารถลดต้นทุนและสร้างรายได้ให้กับกลุ่มวิสาหกิจ คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 1.53 ล้านบาท คืนทุนภายใน 1.6 เดือนจากการประเมินความคุ้มค่าของโครงการปรากฏว่าเป็นตัวอย่างโครงการภาครัฐที่ดีส่งเสริม ศักยภาพของ กลุ่มวิสาหกิจอย่างครบวงจร สามารถพัฒนาผู้ประกอบการ จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในชุมชนด้านการแปรรูปอาหารสมาชิกมีทักษะการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดรายได้เพิ่ม มียอดการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น เกิดการหมุนเวียนรายได้จากเกษตรกรสู่การแปรรูป เพื่อประโยชน์ของวิสาหกิจที่เป็นหนึ่งในฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปได้