โครงการจัดการความรู้การวิจัยแบบมีส่วนร่วมเพื่อการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ เพื่อการส่งเสริมอาชีพตามแนวพระราชดำริสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานประเภทเข่งไม้ไผ่อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและการสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานประเภทเข่งไม้ไผ่ โดยการนำเทคโนโลยีเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อไปขยายผลสู่การปฏิบัติ ในเขตพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ผลสรุปจากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพด้านความประหยัดเวลาในขั้นตอนของ การผ่าไม้ไผ่ด้วยแรงงานคนกับการทำงานด้วยเครื่องผ่าไม้ไผ่ หลังจากการนำเทคโนโลยีเครื่องผ่าไม้ไผ่ไปใช้ประโยชน์ พบว่าการผ่าไม้ไผ่ด้วยเครื่องผ่าไม้ไผ่ขนาดความยาวของไม้ไผ่ 2-8 เมตร จะใช้เวลาอยู่ระหว่าง 0.47-2.02 นาที ในขณะที่การผ่าไม้ไผ่โดยใช้แรงงงานด้วยมีดขนาดความยาว 2-8 เมตร นั้นใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 4.25-12.14 นาที ส่วนการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทํางานในขั้นตอนของการ จักตอกไม้ไผ่ระหว่างการใช้แรงงานคนกับการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อตามระดับความหนาของไม้ไผ้ที่แตกต่างกันขนาดความกว้าง 1.5 เซนติเมตร และความยาวของไม้ไผ่ขนาด 4 เมตร 6 เมตร และ 8 เมตร พบว่ากรณีที่ใช้เครื่องจักตอกแบบเลาะข้อไม้ไผ่จะใช้เวลาอยู่ระหว่าง 0.13 - 0.21 นาที ในขณะที่การจักตอกด้วยแรงงานคนโดยใช้มีดจะใช้เวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5-9 นาที ผลการเพิ่มศักยภาพของกลุ่มอาชีพชุมชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานประเภทเข่งไม้ไผ่ ในพื้นที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ในขั้นตอนการเตรียมเส้นตอกสำหรับนำไปจักสานเข่งไม้ไผ่ พบว่าการใช้มีดผ่าไม้ไผ่เพื่อเตรียมเส้นตอกสำหรับการจักสานด้วยแรงงานคน ทางกลุ่มผู้ผลิตจะต้องเสียเวลาในการเตรียมเส้นตอกสำหรับจักสานเข่ง 1 ใบ จะต้องใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 6 ชั่วโมง จึงทำให้เหลือเวลาในการที่จะสานเข่งเพียง 2 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นจึงทำให้ผู้ผลิตสามารถสานเข่งได้เพียงวันละ 1 ใบ นั้นเท่ากับว่าผู้ผลิตจะมีรายได้เพียง วันละ 180 บาทต่อวัน แต่เมื่อผู้ผลิตใช้วิธีการเตรียมเส้นตอกด้วยเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อไม้ไผ่และเครื่องผ่าไม้ไผ่ พบว่า ผู้ผลิตใช้เวลาในการเตรียมเส้นตอกสำหรับการผลิตเข่ง 1 ใบ โดยใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 2 ชั่วโมง จึงทำให้ผู้ผลิตเหลือเวลาอยู่อีก 6 ชั่วโมงต่อวัน จึงส่งผลให้สามารถสานเข่งได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 3 ใบ ซึ่งเท่ากับว่าผู้ผลิตจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นวันละ 540 บาท คิดเป็น 3 เท่าเมื่อเทียบกับวิธีการเตรียมเส้นตอกเพื่อจักสานเข่งไม้ไผ่ด้วยวิธีการแบบเดิม ผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานเทคโนโลยีเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ โดยเรียงลำดับจากความพึงพอใจอันดับแรก ได้แก่ ด้านวัสดุ และชิ้นส่วนที่ใช้ในการสร้างเทคโนโลยีเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ 4.78 อยู่ระดับมากที่สุด รองลงมา ด้านรูปแบบและโครงสร้างของเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ 4.18 อยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาด้านประสิทธิภาพและการใช้งานของเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ 4.39 ตามลำดับ และมีการประเมินระดับการยอมรับเทคโนโลยีเครื่องเครื่องผ่าไม้ไผ่และเครื่องจักตอกแบบเลาะข้อ โดยเรียงลำดับจากความพึงพอใจอันดับแรก ได้แก่ การยอมรับในด้านประโยชน์ที่ได้รับ 4.94 อยู่ในระดับมากที่สุด การยอมรับด้านโครงสร้าง ส่วนประกอบ/การใช้งาน 4.35 อยู่ในระดับ ตามลำดับ