การจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ในหัวข้อ “การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับวิสาหกิจชุมชนการผลิตขนมนางเล็ดบ้านทับทิมสยาม 04 และตําบลเทพรักษา” สืบเนื่องจากการที่กลุ่มผู้ผลิตขนมนางเล็ดบ้านทับทิมสยาม 04 และสมาชิกกลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีตําบล เทพรักษา ประสบปัญหาด้านการทําแห้งขนมนางเล็ดที่ต้องใช้ระยะเวลานาน และเกิดการสะสมของเชื้อ ราจากการทําแห้งด้วยวิธีทางธรรมชาติ ส่งผลให้กําลังการผลิตไม่เพียงพอและขนมนางเล็ดมีกลิ่นหืนเพื่อ แก้ไขปัญหาดังกล่าวงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอบแห้งขนมนางเล็ดด้วยโรงอบแห้ง พลังงานแสงอาทิตย์แบบพาราโบลาและเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ สําหรับการทําแห้งขนมนางเล็ด โดยศึกษาเปรียบเทียบอบแห้งขนมนางเล็ดในโรงอบแห้งแบบพาราโบลา ที่มีการไหลเวียนของอากาศแบบบังคับ การไหลเวียนของอากาศแบบธรรมชาติ และการไหลเวียนของ อากาศแบบอิสระ และนําผลการศึกษาที่ได้ไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการใช้โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ แบบพาราโบลาสําหรับการทําแห้งขนมนางเล็ดให้กับกลุ่มสมาชิก
จากการทดลองพบว่า การอบแห้งขนมนางเล็ดในโรงอบแห้งแบบพาราโบลาที่มีการไหลเวียน ของอากาศแบบบังคับสามารถลดความชื้นของขนมนางเล็ดได้เร็วกว่า การอบแห้งที่มีการไหลเวียนของ อากาศแบบธรรมชาติ และการอบแห้งที่มีการไหลเวียนของอากาศแบบอิสระ ทั้งนี้เนื่องจากการ ไหลเวียนของอากาศแบบบังคับจะระบายความชื้นออกจากผลิตภัณฑ์ได้เร็วกว่าการไหลเวียนของอากาศ แบบธรรมชาติ และการไหลเวียนของอากาศแบบอิสระ ในส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับกลุ่มสมาชิก พบว่าสมาชิกสามารถลดระยะเวลาการทําแห้งขนมนางเล็ดจาก 8 ชั่วโมงเหลือ 5 ชั่วโมง ทั้งนี้เนื่องจาก การเพิ่มพื้นที่ในการรับแสงแบบ 180 องศาและการจัดรูปแบบการไหลเวียนของอากาศแบบบังคับการ ไหลเวียนส่งผลให้สามารถระบายความชื้นออกจากผลิตภัณฑ์ได้เร็วทําให้สามารถลดร ะยะเวลาการทํา แห้งผลิตภัณฑ์ได้