จากสภาพการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นแนวโน้มที่นานาประเทศต่างให้ความสนใจและหามาตรการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและแนวทางหนึ่งคือบทบาทของกลุ่มสถาบันอุดมศึกษา ที่มีการจัดหลักสูตรการศึกษาหรือความร่วมมือต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุมากขึ้นมหาวิทยาลัยไทยก็เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาศูนย์หรือสถาบันการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพิ่มมากขึ้น โดยเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและจัดให้เหมาะสมกับสภาพบริบทสังคมของผู้สูงอายุไทยโดยพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ที่มีความหลากหลายและเอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับคนวัยนี้ และหาแนวทางกระตุ้นให้กลุ่มวัยกลางคนถึงสูงอายุ ให้สนใจและเข้าหาช่องทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นส่วนในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงวัยมากขึ้น ซึ่งการศึกษาจะมีความแตกต่างกันตามแต่ความต้องการศึกษาของแต่ละบริบทพื้นที่ของการศึกษา(นลินี ทวีสิน, 2555) จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 มีสาระสำคัญคือ การบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยึดเขตพื้นที่การศึกษาโดยคำนึงถึง ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรมและความเหมาะสมอื่น และพบว่าปี 2561 หลักสูตรผู้สูงอายุศึกษา ของมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้คำนึงรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับอุดมศึกษา ในการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงวัฒนธรรม ค่านิยม เศรษฐกิจ การศึกษา อาชีพ รายได้ และจิตวิญญาณ เพื่อให้สามารถดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวของตนและชุมชนที่สอดคล้องบริบทประเพณีวัฒนธรรมที่ประชาชนในพื้นที่มีความพึงพอใจและสามารถนำความรู้และทักษะต่างๆที่ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติไปปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีและได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและอย่างยืนโดยความเข้มแข็งของชุมชน
ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงนำการถ่ายทอดเทคโนโลยีหลักสูตรผู้สูงอายุศึกษาสำหรับเยาวชน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นี้ ไปประสานกับผู้นำชุมชนเพื่อใช้กับเยาวชนในชุมชน และ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ เพื่อสร้างความร่วมมือและเสนอกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุนการวิจัย “การจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ด้านความมั่นคง”