การศึกษาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อการค้นหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของชุมชนท่องเที่ยว โดยมี วัตถุประสงค์ทั้งหมด 3 ข้อ คือ 1) เพื่อสร้างสรรค์และใช้ศิลปะที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนในการส่งเสริมการ ท่องเที่ยว 2) เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับชุมชนไผ่แขกผ่านศิลปะร่วมกัน 3) เพื่อเผยแพร่ ผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์จากอัตลักษณ์ของชุมชนต่อสาธารณะ จากกระบวนการที่ผ่านมา ทาให้ค้นพบ ข้อมูลนำไปสู่การตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยด้วยการดำเนินการทั้งหมด 3 ระยะ
- ระยะที่ 1 มีขั้นตอนการสนทนากลุ่ม Focus group จำนวน 60 คน ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน คณะกรรมการวัด ตัวแทนพระสงฆ์ ครูโรงเรียนในชุมชนไผ่แขก นักเรียน เป็นต้น เพื่อกำหนดเป้าหมายและการดำเนินกิจกรรมในส่วนต่างๆ วิเคราะห์ชุมชน Tows Matrix
- ระยะที่ 2 มีการ ดำเนินการจัดประชุมให้กับชุมชนได้มีส่วนร่วมกับองค์กรภายนอกและภายในชุมชนผ่านกิจกรรมศิลปะร่วมกัน
- ระยะที่ 3 เพื่อเผยแพร่ผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์จากลวดลายเบญจรงค์สู่สาธารณะด้วยการจัดนิทรรศการ
จากการดำเนินการได้ข้อสรุปดังนี้
- ในระยะที่ 1 ในการถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะกับ ชุมชนไผ่แขกมีองค์ประกอบของคู่มือทั้งหมด 6 ส่วน คือ 1.ด้านความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลวดลายเบญจรงค์ และประติมากรรมสร้างสรรค์ 2. การระดมความคิดผู้สร้างสรรค์กับชุมชน 3. หลักการออกแบบผลงานต้นแบบจากองค์ประกอบศิลป์ 4. กระบวนการสร้างผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์จากลวดลายเบญจรงค์เพื่อชุมชนไผ่ แขก 5. การติดตั้งผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์กับชุมชน ศิลปะส่งเสริมชุมชนสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 6. ศิลปะส่งเสริมชุมชนสู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ได้ผลการวิเคราะห์ชุมชน 3 ประเด็นคือ 1. การเรียนรู้และพัฒนาคนในชุมชนให้เห็นคุณค่าเอกลักษณ์ของชุมชนไผ่แขกและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ผ่านการทางานศิลปะได้ 2. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) 3. เผยแพร่เอกลักษณ์
- ในระยะที่ 2 ได้ข้อสรุปจากการจัดกิจกรรมศิลปะร่วมกับชุมชน จำนวน 2 ฐาน ดังนี้ ฐาน 1 ได้ถุงผ้าจากการพิมลวดลายจำนวน 60 ชิ้น โดยมีเอกลักษณ์ในอันดับ 1 ลวดลายไทยประจำยามจากซุ้มประตูโบสถ์วัดไผ่แขก ร้อยละ 30 และฐานที่ 2 การปั้นนูนต้ำจากการถอดลวดลายไทย ได้ผลงานจำนวน 30 ชิ้น อันดับ 1 ลวดลายประจายามที่มีที่มาจากสัญลักษณ์ของวัดไผ่แขก ร้อยละ 43.4
- ในระยะที่ 3 ได้ผลงานประติมากรรมจำนวน 3 ชิ้น ติดตั้งที่ชุมชนไผ่แขก และการเผยแพร่ผลงานประติมากรรมสร้างสรรค์จากลวดลายเบญจรงค์สู่สาธารณะ ในการจัดนิทรรศการ ทัศนศิลปนานาชาติ “INTERNATIONAL Art & Design EXHIBITION 2021 " จังหวัดกาฬสินธุ์ จาก 12 ประเทศ และมีผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการทั้งหมด 350 คน และชุมชนไผ่แขกเผยแพร่ผลงานประติมากรรมและองค์ความรู้ผ่านระบบออนไลน์