งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์
- เพื่อจัดการความรู้ด้านการกำจัดมอดข้าวด้วยคลื่นความถี่สูงและขยายผลแก่กลุ่มเป้าหมายในจังหวัดสุรินทร์
- เพื่อจัดการความรู้ด้านการสร้างสถานีการทำงานด้วยหลักการยศาสตร์ มาตรฐานในการทำงานและการจัดการกระบวนการผลิตและขยายผลแก่กลุ่มเป้าหมายในจังหวัดสุรินทร์
- เพื่อพัฒนากระบวนการและผลิตภัณฑ์ข้าวสารให้แก่กลุ่มเป้าหมายในจังหวัดสุรินทร์ และ
- เพื่อสร้างแนวทางในการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ข้าวสารและพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนในจังหวัดสุรินทร
วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
- การพัฒนาเครื่องกำจัดมอดข้าวด้วยคลื่นความถี่สูงและเก็บตัวอย่างข้าวจากการทดสอบด้วยเครื่องกำจัดมอดข้าว
- การประเมินความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการทำงานด้วยหลักการยศาสตร์และการปรับปรุงสถานีงานบรรจุข้าวสารใส่ถุงด้วยหลัก ECRS
ผลการวิจัยมีดังนี้ สมาชิกของโรงสีข้าวชุมชนสามารถเรียนรู้และถ่ายทอดการใช้เครื่องกำจัดมอดข้าวด้วยคลื่นความถี่สูง ผลจากการเก็บตัวอย่างข้าวที่ผ่านกระบวนการด้วยเครื่องกำจัดมอดจำนวน 30 ถุง พบว่าในระยะเวลา 8 สัปดาห์ ไม่พบมอดที่อยู่ในถุงข้าว ผลการประเมินความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บจากการทำงานด้วยเครื่องมือ Rapid Upper Limb Assessment (RULA) พบว่าการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ของพนักงานบรรจุข้าวสารในท่านั่งมีค่าคะแนนอยู่ในระดับ 7 คะแนนทั้งฝั่งซ้ายและขวาของลำตัว เมื่อทำการปรับปรุงให้ทำงานอยู่ในท่ายืนและจัดตำแหน่งอุปกรณ์ต่างๆให้อยู่ใกล้ลำตัวเพื่อลดการโน้มลำตัว แล้วจึงทำการประเมินอีกครั้ง ผลพบว่าคะแนนลดลงโดยค่าคะแนนทางฝั่งซ้ายอยู่ในระดับ 4 คะแนน ส่วนฝั่งขวาคะแนนที่ได้คือ 6 คะแนน ผลการปรับปรุงสถานีการทำงานด้วยหลักการ ECRS ในการลดการสูญเปล่า พบว่าการทำงานบรรจุข้าวมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นโดยเวลาที่ใช้ในการบรรจุข้าวลงถุงลดลง สมาชิกของโรงสีข้าวชุมชนสามารถเรียนรู้และถ่ายทอดการปรับปรุงสถานีงานให้แก่ชุมชนอื่น นอกจากนี้ข้าวสารที่ผ่านเครื่องกำจัดมอดข้าวด้วยคลื่นความถี่สูงขายได้ในราคาสูงขึ้นร้อยละ 25