ไอโอดีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายโดยเป็นส่วนประกอบหนึ่งของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญ ในพัฒนาการของสมอง และร่างกาย ปัญหาการขาดไอโอดีนพบมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เนื่องจากได้รับไอโอดีนจากอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติไม่เพียงพอ รัฐบาลจึงได้สนับสนุนการป้องกันโรคคอพอก โดยเพิ่มไอโอดีนลงในเกลือที่ใช้รับประทาน ซึ่งทำให้ อุบัติการณ์ของโรคนี้ลดลง แต่โรคขาดสารไอโอดีน ก็ยังไม่หมดไปจากประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง พื้นที่ที่ยังมีการขาดมากกว่าพื้นที่อื่นๆคือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้อาจเนื่องจากมีผู้ผลิตเกลือรายย่อยจำหน่ายเกลือสินเธาว์อยู่จำนวนมาก ซึ่งทำให้ควบคุมมาตรฐานของเกลือเสริมไอโอดีนได้ยาก หญิงตั้งครรภ์นับเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบจากการขาดไอโดดีนเนื่องจากหญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับไอโอดีนวันละ 250 ไมโครกรัม ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงเกือบหนึ่งเท่าตัวจากเดิม ซึ่งในสตรีวัยเจริญพันธุ์ทั่วไป ต้องการเพียงวันละ 100-150 ไมโครกรัม ดังนั้น การได้จากอาหารจึงอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องให้วิตามินเสริมไอโอดีน และถึงแม้ว่าจะสามารถให้วิตามินเสริมไอโอดีนกับหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างทั่วถึงแล้วก็ตาม แต่หลังจากคลอดไปแล้วการให้วิตามินเสริมไอโอดีนก็ไม่สามารถให้ได้ตลอดไป อีกทั้งทารกที่จะต้องเจริญเติบโตต่อไปสู่วัยเด็ก และเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ยังมีความต้องการไอโอดีนที่เพียงพออย่างต่อเนื่อง การบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนยังคงจะเป็นวิธีการป้องกันการขาดสารไอโอดีนที่ยั่งยืนจึงได้ดำเนินการศึกษา การสนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้และเข้าใจความสำคัญของการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีน และนำไปใช้ปรุงอาหารให้กับสมาชิกทุกคนในครัวเรือน ซึ่งจะเป็นวิธีการป้องกันการขาดสารไอโอดีนที่ นอกจากจะยั่งยืนแล้ว ยังสามารถป้องกันการขาดสารไอโอดีนให้กับประชาชนทุกกลุ่มอายุที่อยู่ในครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากการตอบแบบสอบถามของหญิงตั้งครรภ์เพื่อประเมินระดับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม การบริโภคไอโอดีนให้ได้พอเพียง พบว่า ร้อยละ 51.0% ได้คะแนน น้อยกว่าเกณฑ์ (95%CI = 41.0, 61.0) ส่วนการส ารวจเกลือบริโภคที่หญิงตั้งครรภ์ใช้ในครัวเรือนอยู่แล้วก่อนเข้าร่วมโครงการวิจัย พบว่าเป็นเกลือที่มีไอโอดีน น้อยกว่าที่ควรจะเป็น (< 30 ppm) ถึงร้อยละ 41.9 (95% CI = 36.8, 47.1) หญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกและยังไม่ได้รับวิตามินธาตุเหล็กเสริมไอโอดีน มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะเฉลี่ย 126.8 (±107.9) ส่วนหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวิตามินธาตุเหล็กเสริมไอโอดีน และเกลือเสริมไอโอดีน มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะเฉลี่ย สูงขึ้นเป็น 196.4 (±156.9) หลังจากได้รับเกลือเสริมไอโอดีน และความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนจากแผ่นพับเมื่อหญิงตั้งครรภ์มาคลอด ได้ทำการประเมินประสิทธิภาพการใช้เกลือเสริมไอโอดีนระหว่างการตั้งครรภ์โดยการตรวจปัสสาวะของญาติที่มาโรงพยาบาลกับหญิงตั้งครรภ์เมื่อมาคลอดและเป็นคนที่ในอยู่ครัวเรือนเดียวกัน และได้รับประทานอาหารร่วมกันเป็นประจำ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่เป็นสามี (ร้อยละ 63.7 ) รองลงไปเป็น พ่อแม่ของหญิงตั้งครรภ์เอง (ร้อยละ 25.5) กลุ่มญาติหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นสามี มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะ 3 เฉลี่ย 140.7 (±130.2) ซึ่งสูงกว่า กลุ่มญาติหญิงตั้งครรภ์อื่นๆ ที่อาจมีโอกาสรับประทานอาหารร่วมกับหญิงตั้งครรภ์มีระดับไอโอดีนในปัสสาวะ เฉลี่ยเพียง 109.2 (±114.3)ดังนั้นประสิทธิภาพของการส่งเสริมการใช้เกลือเสริมไอโอดีนในครัวเรือนหญิงตั้งครรภ์ด้วยการให้ความรู้ และให้เกลือเสริมไอโอดีนไปใช้ปรุงอาหารในครัวเรือน นอกเหนือจากการให้เม็ดวิตามินธาตุเหล็กเสริมไอโอดีน สามารถเพิ่มระดับไอโอดีนสมาชิกในครัวเรือนที่หญิงตั้งครรภ์ได้ใช้เกลือเสริมไอโอดีนปรุงอาหาร