การยกระดับและพัฒนาระบบการผลิตไก่งวงแบบครบวงจรสู่ เชิงพานิชย์ สร้างตลาด เชิงสร้างสรรค์จากระดับรากฐานล่างขึ้นสู่ตลาดมูลค่าเพิ่ม เลือกวิธีการปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม (Best practice) สู่ Product champion ด้วยการมีตลาดรับซื้อที่แน่นอน การพัฒนาระบบต้นน้ำถึงปลายน้ำจากคุณค่า (value) สู่การสร้างมูลค่าห่วงโซ่ (add value chain) จากการผลิตไก่งวงมีชีวิตสู่การชำแหละเพื่อจำหน่ายซากแบบแช่แข็ง เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ปรุงสุกพร้อมกิน (Eat to Eat) การพัฒนาสร้างผลิตภัณฑ์พร้อมถุงบรรจุภัณฑ์ 5 ชนิด คือ 1) ไก่งวงรมควัน 2) ไส้อั่วไก่งวง 3) ไก่งวงอบน้ำผึ้ง 4) ไก่งวงแดดเดียว และ 5) ไก่งวงแบบแช่แข็ง สร้างสินค้าให้เป็นผลิตภัณฑ์ระดับพรีเมียม ช่วยยกระดับคุณภาพสินค้า และผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาด โดยใช้วิธีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่จริงของกลุ่มเกษตรกร ผู้เลี้ยงไก่งวง ในจังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร 4 กลุ่ม ๆ ละ 2 วัน ประกอบไปด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้ 1) การถ่ายทอดการพัฒนาเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer ผลิตไก่งวงแบบปลอดภัย 2) การรับรองมาตรฐานโรงงานและโรงงานแปรรูป อย., GMP, ระบบบาร์โค้ด ระบบคิวอาร์โค้ด 3) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ไก่งวงตามเป้าหมาย สร้างผลิตภัณฑ์ 5 ชนิด คือ ไก่งวงแช่แข็ง, ไก่งวงแยกชิ้นส่วน, ไก่งวงรมควัน, ไก่งวงอบน้ำผึ้ง, ไส้อั่วไก่งวง เพื่อยกระดับสินค้าให้ได้มาตรฐาน 4) การสร้างตลาดออนไลน์และออฟไลน์ผลิตภัณฑ์ไก่งวง สู่มืออาชีพ และ 5) การถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูลทางบัญชีฟาร์ม (Smart ME) บัญชีรายจ่าย รายรับ และการดำเนินงานถ่ายทอดเทคโนโลยีโครงการใช้เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และค่ามาตรฐานความแปรปรวน ผลการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยี จากผลการวิจัย พบว่า เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือผู้ประกอบการ ที่เลี้ยงไก่งวงในจังหวัดนครพนมและจังหวัดมุกดาหาร เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้การอบรมรวมทั้งหมดจำนวน 234 ราย ส่วนมากเป็น เพศชาย 126 ราย (ร้อยละ 53.85) มีอายุเฉลี่ย 41.26±11.79 ปี โดยประกอบอาชีพหลักมากที่สุดเป็นเกษตรกร จำนวน 134 ราย (ร้อยละ 57.26) รองลงมาเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 46 ราย (ร้อยละ 19.66) โดยส่วนใหญ่จบการศึกษา ระดับประถมศึกษา จำนวน 102 ราย (ร้อยละ 43.59) มีรายได้ ต่อเดือนมากที่สุด คือ เฉลี่ย 5,001-10,000 บาท จำนวน 111 ราย (ร้อยละ 47.44) ตามลำดับ วัดผลความพึงพอใจและการปรับปรุงหลักสูตรเฉลี่ยทั้งโครงการมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 4.58 (ร้อยละ 91.62) การติดตามประเมินผู้เข้าร่วมโครงการหลังจากจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ภายใน 2-4 เดือน ผู้ที่เข้าร่วมรับองค์ความรู้จากการอบรมได้นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ทันทีหลัง การถ่ายทอด จำนวน 113 ราย (ร้อยละ 55.66) ของผู้ที่ผ่านการประเมินติดตาม ด้านค่าเฉลี่ยหนี้สินครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมการอบรม 117,777.78 บาท/ราย และหลังเข้าร่วมการอบรม 96,154 บาท/ราย โดยหลังการอบรมสามารถลดหนี้สินครัวเรือนได้ถึง 21,623.78 บาท/ราย คิดเป็นร้อยละ 18.36 ผลการดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายทั้งด้านผลผลิตและผลลัพธ์ของโครงการที่กำหนด ไว้ตามตัวชี้วัด 9 ข้อ ดังนี้ คือ 1) จำนวนกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 4 กลุ่ม 2) จำนวนผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งหมด 234 ราย (มากกว่าค่าเป้าหมาย 34 ราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.53) 3) ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับการถ่ายทอด 91.35 ค่าคะแนนระดับความพึงพอใจเฉลี่ย 4.57 ระดับความพึงพอใจมากที่สุด 4) จำนวนหน่วยงานที่ข้าร่วมโครงการ ทั้งหมด 7 หน่วยงาน 5) ร้อยละผู้รับการถ่ายทอด มีการนำไปใช้ประโยชน์ 98.29 6) จัดตั้งศูนย์เรียนรู้แลถ่ายทอดเทคโนโลยี 3 แห่ง 7) จำนวนสถานประกอบการที่นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ 4 แห่ง 7) ระยะเวลาในการดำเนินงานหลังการอบรมถ่ายทอดโครงการ 2 เดือน 9) สัดส่วนผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับงบประมาณที่ได้รับ เท่ากับ 21.79 เท่าของงบประมาณที่ใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ