
การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตแป้งสาคูในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง
นักวิจัย
พื้นที่รับประโยชน์
คู่มือถ่ายทอดองค์ความรู้
โครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีการผลิตแป้งสาคูในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อนำองค์ความรู้ และเทคโนโลยีการผลิตแป้งสาคูไปถ่ายทอดสู่กลุ่มเกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรัง และพัทลุง จำนวน 4 กลุ่ม โดยการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ สาธิต และฝึกปฏิบัติการผลิต และแปรรูปแป้งสาคู ศึกษาดูงานป่าสาคูชุมชน และการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับการประเมินผลการรับรู้ทั้งก่อน และหลังการฝึกอบรมด้วยแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์
ผลการประเมินพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรม
กลุ่มที่ 1 กลุ่มสมาชิกชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูอำเภอนาโยง มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมต้นสาคู อุปกรณ์ เครื่องมือเพื่อการผลิตแป้งสาคู โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการรับรู้ 2.77 (ระดับปานกลาง) และคะแนนเฉลี่ยหลังการรับรู้ 4.23 (ระดับมาก) ผลสรุปภาพรวมในทุกประเด็นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตแป้งสาคูเพิ่มมากขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการรับรู้ 3.88 (ระดับมาก) และคะแนนเฉลี่ยหลังการรับรู้ 4.46 (ระดับมาก)
กลุ่มที่ 2 กลุ่มชุมชนท่าสำเภาเหนือ และชุมชนบ้านพรุ มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมต้นสาคู อุปกรณ์ เครื่องมือเพื่อการผลิตแป้งสาคู โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการรับรู้ 2.88 (ระดับปานกลาง) และคะแนนเฉลี่ยหลังการรับรู้ 3.88 (ระดับมาก) ผลสรุปภาพรวมในทุกประเด็นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตแป้งสาคูเพิ่มมากขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการรับรู้ 3.68 (ระดับมาก) และคะแนนเฉลี่ยหลังการรับรู้ 4.80 (ระดับมากที่สุด)
กลุ่มที่ 3 กลุ่มอนุรักษ์แปรรูปสาคูบ้านกะโสม มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมต้นสาคู อุปกรณ์ เครื่องมือเพื่อการผลิตแป้งสาคู โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการรับรู้ 2.46 (ระดับน้อย) และคะแนนเฉลี่ยหลังการรับรู้ 4.43 (ระดับมาก) ผลสรุปภาพรวมในทุกประเด็นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตแป้งสาคูเพิ่มมากขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการรับรู้ 2.72 (ระดับปานกลาง) และคะแนนเฉลี่ยหลังการรับรู้ 4.72 (ระดับมากที่สุด)
กลุ่มที่ 4 กลุ่มส่งเสริมอาชีพผลิตแป้งสาคูองค์การบริหารส่วนตำบลนาโพธิ์ มีความรู้ความเข้าใจในการเตรียมต้นสาคู อุปกรณ์ เครื่องมือเพื่อการผลิตแป้งสาคู โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการรับรู้ 1.75 (ระดับน้อย) และคะแนนเฉลี่ยหลังการรับรู้ 2.52 (ระดับปานกลาง) ผลสรุปภาพรวมในทุกประเด็นมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตแป้งสาคูเพิ่มมากขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการรับรู้ 3.88 (ระดับมาก) และคะแนนเฉลี่ยหลังการรับรู้ 4.08 (ระดับมาก) โดยสรุปเกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรมในครั้งนี้ มีความสนใจที่จะเรียนรู้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังการเข้าร่วมฝึกอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรมในทุกด้าน และทุกประเด็นที่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีการผลิตแป้งสาคู
