บทคัดย่อ
บ่อดินเลี้ยงกุ้งทิ้งร้างไม่ได้ใช้ประโยชน์สามารถปรับเปลี่ยนมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน เป็นการ ใช้ที่ดินให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้เกษตรกรมีรายได้มีกินมีอยู่อย่างพอเพียงตามแนวทางพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ 9 โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินร่วมกับปลานวลจันทร์ทะเลและ สาหร่ายพวงองุ่นให้กับเกษตรกรและถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กลุ่มเกษตรกรนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติตามหลัก เศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินงานประกอบด้วยกิจกรรม 1) บ่อต้นแบบการเลี้ยงหอยแครงในบ่อดิน (ร่องคูน้ำ สวนมะพร้าว) แบบผสมผสาน 2) การพาเกษตรกรศึกษาดูงานการเลี้ยงหอยแครงในบ่อดิน ตำบลคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ และ 3) การถ่ายทอดองค์ความรู้คืนข้อมูลสู่ชุมชน ได้แก่ การเลี้ยงหอยแครงในบ่อดิน การเพาะขยายแพลงก์ตอนพืช การเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเล และ การเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น
สถานที่ตั้งบ่อสาธิตต้นแบบการเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินแบบผสมผสานนี้เดิมกำหนดไว้เป็นบ่อดินที่บ้าน แหลมมะขาม อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด แต่ประสบปัญหาความไม่พร้อมของเกษตรกรและของบ่อดิน จึง เปลี่ยนสถานที่ดำเนินการมาอยู่ที่ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งเป็นสวนมะพร้าวที่ขุดดินยก ร่องคูน้ำและมีประตูปิดเปิดน้ำเข้าออกจำนวน 2 ประตู หลังจากเตรียมบ่อดิน ทำการกั้นคอกด้วยตาข่ายในร่อง คูน้ำสวนมะพร้าวจำนวน 2 คอกๆละ 1 ไร่ ในเดือนพฤษภาคม 2565 ระดับความเค็มน้ำในบ่อประมาณ 18 พีพี ที หว่านหอยแครงที่ซื้อจากตำบลคลองโคน (หอยแครงนำเข้าจากประเทศพม่า) จังหวัดสมุทรสงคราม ขนาด 1000 ตัว/กก และซื้อจากชาวประมงจังหวัดตราด (หอยแครงพื้นถิ่น) ขนาด 250 ตัว/กก ชนิดละ 100 กกต่อไร่ ในเดือนสิงหาคม 2565 ระดับความเค็มน้ำในบ่อประมาณ 5-6 พีพีที ปล่อยปลานวลจันทร์ทะเลขนาด 2-3 นิ้ว จำนวน 1200 ตัวต่อไร่ และในเดือนธันวาคม 2565 ระดับความเค็มของน้ำประมาณ 25-27 พีพีที เลี้ยงสาหร่าย พวงองุ่นแบบแขวนแผงใต้น้ำ ระดับความลึกของน้ำในร่องคูน้ำตลอดระยะเวลาเลี้ยงสัตว์น้ำมีค่าระหว่าง 35-80 เซนติเมตร
หอยแครงที่ซื้อจากตำบลคลองโคน จังหวัดสมุทรสงครามตายหมดภายใน 1 สัปดาห์เนื่องจากปริมาณ ฝนที่ตกต่อเนื่องทำให้ระดับความเค็มของน้ำในบ่อต่ำรวดเร็ว ระดับน้ำเค็มที่ต่ำนี้มีผลให้ชนิดและปริมาณ แพลงก์ตอนพืชลดลง น้ำในบ่อที่ระดับความเค็มระหว่าง 5-8 พีพีที ในระยะเวลา 3 เดือนแรกหอยแครงพื้นถิ่น จังหวัดตราดเจริญเติบโตดี หลังจากนั้นหอยแครงเริ่มมีน้ำหนักลดลงและพบหอยแครงตายประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์เมื่อระดับความเค็มของน้ำต่ำเป็นระยะเวลานานกว่า 4 เดือน เมื่อระดับความเค็มของน้ำในบ่อสูงขึ้น หอยแครงมีการเจริญเติบโตรวดเร็วและหลังจากเลี้ยงเป็นระยะเวลา 6 เดือนมีจำนวน 106 ตัว/กกซึ่งเป็นขนาด ที่ขายในตลาด ส่วนปลานวลจันทร์ทะเลมีการเจริญเติบโตช้ามาก หลังจากเลี้ยงเป็นระยะเวลา 5 เดือน ปลา นวลจันทร์ทะเลมีน้ำหนักเฉลี่ยและความยาวทั้งหมดเฉลี่ยเท่ากับ 70.415 กรัม และ 22.71.9 เซนติเมตร ตามลำดับ
ในการทำกิจกรรมนี้ไม่ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นแบบแขวนแผงเนื่องมาจากปัจจัย ระดับความเค็มน้ำทะเลที่ไม่เหมาะสมและปัจจัยตะกอนดินปริมาณมากในน้ำทับถมบนแผงทำให้สาหร่าย สังเคราะห์แสงได้น้อยและไม่เจริญเติบโตโดยสรุป การดำเนินงานโครงการนี้บรรลุเป้าหมายในการเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินร่วมกับปลา นวลจันทร์ทะเล แต่ควรเลี้ยงในบ่อดินที่มีความลึกมากกว่า 1 เมตร เนื่องจากลูกหอยแครงมีราคาแพง เกษตรกร ที่มีบ่อดินจึงสนใจในการเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเล และในเดือนมีนาคม 2566 เกษตรกรจำนวน 2 รายได้ ดำเนินการเตรียมบ่อเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลร่วมกับสัตว์น้ำพื้นถิ่นในบ่อดินพื้นที่ 4 ไร่ ที่บ้านเขาน้อย อำเภอ แหลมงอบ จังหวัดตราด
คำสำคัญ: หอยแครง ปลานวลจันทร์ทะเล สาหร่ายพวงองุ่น การเลี้ยงแบบผสมผสาน