จากปัญหาการเลี้ยงหอยแครงในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล เนื่องมาจากสภาวะของสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมร่วมกับคุณภาพน้ำเสียที่ถูกปล่อยให้ไหลลงสู่ทะเล เกษตรกรบางรายได้ปรับมาใช้วิธีการเลี้ยงหอยแครงในบ่อดิน แต่ยังคงต้องใช้เวลาเลี้ยงหอยแครงนาน และการเจริญเติบโตยังไม่เต็มที่ คณะนักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับเกษตรกรในท้องถิ่นท้าศึกษาวิจัยหาแนวทางพัฒนาการเลี้ยงหอยแครงให้เกิดประสิทธิผลด้วยการท้าโครงการพัฒนาบ่อดินให้เป็นบ่อเลี้ยงหอยแครงในระบบปิด ที่ต้าบลคลองโคน อ้าเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นกิจกรรมสงเสริมและสนับสนุนการวิจัย “การจัดการความรู้เพื่อการใช้ประโยชน์เชิงชุมชน สังคม ตามแนวพระราชด้าริ” ภายใต้โครงการจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ประจ้าปี 2563 เพื่อพัฒนาการเลี้ยงหอยแครงในระบบปิดและใช้เป็นต้นแบบเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ด้วยการจัดเวทีชาวบ้าน มีกระบวนการสื่อสารทางโซเชียลเน็ตเวิร์กในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เมื่อสถานะการณ์คลี่คลาย มีการจัดอบรม การประชุมเครือข่ายกลุ่มเพาะเลี้ยงหอยแครง ในพื้นที่ “วรเดชฟาร์ม” ของคุณวรเดช เขียวเจริญ เป็นบ่อดินขนาด 6 ไร่ เริ่มดำเนินกิจกรรมในช่วงเดือนมีนาคม 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2562 ด้วยการให้เกษตรกรอบรมเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสาหร่ายเซลล์เดียว (แพลงก์ตอนพืช) แล้วลงมือฝึกปฏิบัติจนสำเร็จโดยมีทีมวิจัยเป็นพี่เลี้ยง ผ่านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายด้วยการจัดอบรมและสาธิตการเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืช การตรวจคุณภาพน้ำอย่างง่าย การผลิตคู่มือการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อเป็นอาหารหอยแครง มีการศึกษาดูงาน และจัดการประชุมร่วมกันของเครือข่ายกลุ่มเพาะเลี้ยงชายฝั่งจากจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสงคราม และจังหวัดเพชรบุรี โดยมีส่วนร่วมของสำนักงานประมงจังหวัดสมุทรสงคราม และองค์การบริหารส่วนต้าบลคลองโคน ในการดำเนินกิจกรรม ผลจากการผลิตแพลงก์ตอนพืช เพื่อเป็นอาหารเลี้ยงหอยแครงในบ่อดิน พบว่าบ่อที่เลี้ยงด้วยแพลงก์ตอนพืชมีขนาดค่าเฉลี่ยของความยาว, ความกว้าง และน้ำหนักของหอยแครง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (p<0.01) เมื่อเทียบกับบ่อที่เลี้ยงตามธรรมชาติ ขณะที่น้ำในบ่อเลี้ยงด้วยระบบปิด มีคุณภาพดีกว่าน้ำในบ่อพักและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เพราะมีกังหันตีน้ำระบบพลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ เกิดการหมุนเวียนของกระแสน้ำในบ่อ มีการใช้จุลินทรีย์ช่วยก้าจัดสารอินทรีย์ในบ่อ จึงเหลือสารประกอบอินทรีย์ไนโตรเจน เช่นแอมโมเนีย-ไนโตรเจน, ไนไตรท์-ไนโตรเจน และไนเตรท-ไนโตรเจน ในปริมาณที่ต่ำมาก จากการด้าเนินงานในครั้งนี้ได้บรรลุตามเป้าหมายที่ก้าหนดไว้ ควรส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงในบ่อดินด้วยระบบปิด นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรน้าหอยแครงมาเลี้ยงในบ่อดินที่มีการลงทุนต่ำ ลดความเสี่ยงการตายของหอยแครงได้มากกว่าวิธีการเลี้ยงในทะเลแบบเดิม สร้างความพึงพอใจและสนใจของเกษตรกรกลุ่มเพาะเลี้ยงหอยแครง และกลุ่มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเป็นอย่างดี