
การถ่ายทอดเทคโนโลยีปลูกพืชไม่ใช้ดินเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน
นักวิจัย
พื้นที่รับประโยชน์
คู่มือถ่ายทอดองค์ความรู้
เทคโนโลยีปลูกพืชไม่ใช้ดิน เป็นเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างหนึ่งที่ช่วยผลิตพืชผักในพื้นที่ ไม่เหมาะสมได้ การถ่ายทอดเทคโนโลยีครั้งนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตวัตถุดิบในการประกอบอาหารในโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนกับโรงเรียนที่เข้าร่วมอบรมสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้ทางการเกษตรให้ชุมชนผู้สนใจ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถผลิตผักในพื้นที่วิกฤตที่มีสภาพดินไม่เหมาะสม และช่วยให้พึ่งพาตนเองได้ในอนาคตได้ โดยการดำเนินการได้มีการรวบรวมองค์ความรู้การปลูกพืชไม่ใช้ดิน แล้วนำไปถ่ายทอดสู่การปฏิบัติจริงตั้งแต่การฝึกการเตรียมพื้นที่ การติดตั้งชุดปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน การตรวจสอบระบบ การจัดการดูแลรักษาระบบการปลูกพืชไม่ใช้ดิน การเพาะเมล็ด การย้ายกล้าลงบนโต๊ะปลูก และการจัดการให้สารละลายธาตุอาหารในการปลูกโดยไม่ใช้ดิน ตลอดจนการประเมินความสำเร็จความต่อเนื่องของโครงการฯ ในกลุ่มเป้าหมายที่สามารถการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่โรงเรียนเป้าหมายจำนวน 22 โรงเรียนประกอบด้วย โรงเรียนในจังหวัดปัตตานี จำนวน 18 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านบางปลาหมอ โรงเรียนชุมชนบ้านตะลุโบะ ศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัดปัตตานี โรงเรียนบ้านตลาดนัดคลองขุด โรงเรียนรัชดาภิเษก โรงเรียนบ้านปากบางตาวา โรงเรียนบ้านตันหยงเปาว์ โรงเรียนวัดสถิตย์ชลธาร โรงเรียนบ้านยาบี โรงเรียนบ้านควนแตน โรงเรียนบ้านเขาวัง โรงเรียนบ้านปะนาเระ (รัฐอุทิศ) โรงเรียนบ้านท่าข้าม โรงเรียนท่าข้ามวิทยาคาร โรงเรียนอนุบาลปัตตานี โรงเรียนอนุบาลสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โรงเรียนบ้านทุ่ง และโรงเรียนบ้านปุลามาวอ และภายในจังหวัดสงขลา จำนวน 4 โรงเรียน ประกอบด้วย
- โรงเรียนบ้านนาจวก
- โรงเรียนบ้านพรุชิง
- โรงเรียนวัดแม่เปียะ
- โรงเรียนวัดเกษตรชลธี (เลื่อนประชาคาร)
โดยผลการดำเนินงานในการถ่ายทอดองค์ความรู้นั้น พบว่า หลังจากได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกพืชไม่ใช้ดินแล้ว โรงเรียนที่เข้าร่วมทั้งหมดสามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ โดยนำความรู้ ไปถ่ายทอดต่อไปยังชุมชน ใช้เป็นกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน นำผลผลิตไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหารในโครงการอาหารกลางวัน และสร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคุณครู นักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียน ชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียง จึงสามารถสรุปได้ว่าการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีการปลูกพืชไม่ใช้ดินในครั้งนี้ เกิดความสำเร็จ และความยั่งยืนในการดำเนินโครงการ แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาเรื่องการผลิตที่ได้ผลผลิตไม่มากนัก จึงต้องมีการขยายผลเพิ่มเติมเพื่อเกิดความยั่งยืนยิ่งขึ้นต่อไป
