การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบ กระบวนการผลิตเครื่องปั้นดินเผาของกลุ่มวิสาหกิจชุมเตาเผาโบราณบ้านบ่อสวก จังหวัดน่าน ให้มีเอกลักษณ์ของสินค้า สามารถนำไปใช้จริงได้ โดยนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ที่เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เสริมสร้างรายได้และพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชน รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน โดยทำการการจัดการความรู้การวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีจากสามชิกกลุ่มผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านบ่อสวก จังหวัดน่าน จำนวน 13 คน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการผลิตงานเครื่องปั้นดินเผามาเป็นเวลานานตั้งแต่อดีต สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยวิธีการการสำรวจรวบรวมข้อมูลมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้วิจัยมีแนวทางในการออกแบบรูปทรงและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมของเครื่องเผาบ่อสวก ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์พื้นถิ่นจังหวัดน่าน เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน และรวมไปถึงการบริหารจัดการ มาตรฐานการบริการด้านการตลาด และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชน
ผลการศึกษาพบว่าผลจากการสร้างต้นแบบของผลิตภัณฑ์ที่ได้เป็นที่ยอมรับ และเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาด้วยผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้เชี่ยวชาญผู้ผลิต และเป็นไปตามการสำรวจความต้องการของผู้บริโภคได้ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับที่มาก และบรรลุวัตถุประสงค์สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้กระบวนในการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การผลิตงานเครื่องเคลือบดินเผา ที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการผู้บริโภค ตอบสนองประโยชน์ใช้สอยทาง กายภาพ มีความสะดวกสบายจากการใช้งานตามหน้าที มีโครงสร้างทีแข็งแรงคงทนเหมาะสมกับ สรีระและมีความปลอดภัยในการใช้งาน ในด้านของความงาม ผลงานทีสร้างสรรค์ขึ้นจัดได้ว่ามี ความสวยงามเหมาะสมตามประเภทของงาน มีความเรียบง่ายของรูปทรงและความละเอียดประณีต ของชิ้นงานในด้านกระบวนการผลิตและความเหมาะสมกับการใช้เป็นของทีระลึก มีความเหมาะสมในการเลือกใช้วัสดุเคลือบผิวจากวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น และมีขั้นตอนรวมทั้งเทคนิคในการผลิตทีไม่สลับซับซ้อนจนเกินไป อีกทั้งยังสามารถพัฒนาผลงานขึ้นเอง ตามความต้องการของผู้บริโภคโดยยังคงยึดหลักการออกแบบตามแนวความคิดและแรงบันดาลใจจากความเป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นจังหวัดน่าน
ผลการจัดการการผลิต เศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับต้นทุน และการตลาดของวิสาหกิจชุมชนประกอบด้วยกลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ 1) ออกงานแสดงสินค้าอย่างต่อเนื่อง และแสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดขั้นสูง 2) ขยายกลุ่มตลาดในกลุ่มธุรกิจสปา และธุรกิจโรงแรม และ 3) พัฒนาการดำเนินงานด้านการตลาด Social Media กลยุทธ์แก้ไขเพิ่มเติมได้แก่ 1) พัฒนาบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์สินค้า 2) ศึกษาความต้องการของผู้บริโภค 3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผลการประเมินขีดความสามารถในการรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว ความสามารถในการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะประกอบด้วยการดำเนินงานที่เน้นกิจกรรมลักษณะเชิงวัฒนธรรมและสังคมท้องถิ่นกับวิสาหกิจชุมชนที่มีมุ่งแสวงหาผลกำไรและส่งเสริมอาชีพแก่กลุ่มเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของชุมชน และเหมาะสมกับทุนทางสังคมที่มี จึงจะทำให้วิสาหกิจชุมชนเติบโตอย่างมีอัตลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นโดยไม่เปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อมภายนอกมากจนเกินไป