กิจกรรมดังกล่าวได้ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสกัดองค์ความรู้ที่ได้เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่สามารถใช้ต่อยอดต่อไปซึ่งจากการดำเนินกิจกรรมพบว่าพื้นที่ตำบลตะโหมด ยังมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีแหล่งวัฒนธรรม และวิถีชาวบ้านที่ดี และมีประเพณีวัฒนธรรมที่งดงามชุมชนตะโหมดมีจุดเด่นที่เรียกว่า“ 5 อ” ประกอบด้วย
- อาหารคือมีอาหารพื้นเมืองหลากหลายและปลอดสารพิษ
- อากาศคือมีอากาศที่บริสุทธิ์ และมีค่าออกซิเจนในประมาณที่สูง
- อ่างเก็บน้ำคือมีอ่างเก็บน้ำที่มีทิวทัศน์ และธรรมชาติที่สวยงาม
- องค์ความรู้คือชุมชนตะโหมดมีองค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายเช่นสมุนไพรขนบธรรมเนียม ประเพณีวิถีเงาะป่าซาไก
- แอดแวนเจอร์ (Adventure)
การมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนตะโหมดได้มีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบ่งเป็น 3 ด้านคือ
- ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนมีการรวมตัวกันเพื่อดำเนินการวางแผนด้านการบริหารจัดการของการท่องเที่ยวชุมชนผ่านเวทีการประชุมของสมาคมการท่องเที่ยวชุมชนตะโหมด และผ่านระดับอำเภอตะโหมดเพื่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนตะโหมด
- ด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติชาวบ้านชุมชนตะโหมดมีการร่วมมือปฏิบัติเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนโดยมีการร่วมคิดวิเคราะห์เสนอแนะและปรับแผนการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน
- ด้านความร่วมมือในการประเมินผลชุมชนตะโหมดมีความร่วมมือในการประเมินผลการปฏิบัติการท่องเที่ยวชุมชนคือร่วมมือกันประเมินผลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมมือกันประเมินผลการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมมือกันประเมินผลการจัดการท่องเที่ยวชุมชนสำหรับกระบวนการจัดการความรู้การมีส่วนร่วมการจัดการท่องเที่ยวชุมชนตะโหมดคือสร้างความเข้าในคำว่า“ ชุมชน” โดยแสดงให้เห็นถึงการมีความคิดเห็นในแบบอย่างเดียวกันเกิดความภาคภูมิในชุมชนของตนเองซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนรู้ด้านการจัดการท่องเที่ยวร่วมกันซึ่ง“ แหล่งเรียนรู้” ก็คือชาวบ้านในชุมชนซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าของบ้านผ่านวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชนที่มีอยู่โดยผ่าน“ กระบวนการการมีส่วนร่วม”