การผลิตสารลดแรงตึงผิวทางชีวภาพจากจุลินทรีย์ในท้องถิ่นเพื่อนามาใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตร โดยทาการคัดแยกจุลินทรีย์จากแปลงนาข้าวจังหวัดสุรินทร์บนอาหารแข็ง และทาการทดสอบเบื้องต้นของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสารลดแรงตึงผิวด้วย CTAB methylene blue agar plate การเกิด Hemolytic activity การแผ่ของหยดน้ามัน (Drop collapse test) การกระจายตัวของน้ามัน (Oil displacement test) และดัชนีการเกิดอิมัลชั่น (Emulsification Index, %EI24) ทาการหาชีวมวลของจุลินทรีย์โดยการวัดอัตราการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในระยะเวลา 7 วัน นอกจากนั้นยังทาการส่งผ่าน องค์ความรู้ด้านการปฏิบัติในทางที่ดีสาหรับการทานา (GAP) และการผลิตสารลดแรงตึงผิวหรือสารจับใบทางชีวภาพสาหรับเกษตรกรในภาคสนาม ทาการประเมินผลความรู้โดยเปรียบเทียบก่อนและหลังการอบรม พร้อมทั้งทาการประเมินผลผลิตข้าว และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของโครงการ ผลการศึกษาพบว่า จุลินทรีย์ท้องถิ่นจานวน 4 ไอโซเลทจากทั้งหมด 16 ไอโซเลท (เชื้อรา 9 และแบคทีเรีย 7 ไอโซเลท) จากแปลงนาข้าวจังหวัดสุรินทร์มีประสิทธิภาพเบื้องต้นในการผลิตสารลดแรงตึงผิว และเมื่อนามาทดสอบที่ระยะเวลา 7 วัน พบว่ามีจานวน 2 ไอโซเลท (Bacillus sp. และ Trichoderma sp.) ที่มีประสิทธิภาพในนามาผลิตสารจับใบข้าวในภาคสนาม โดยมีค่าการกระจายของน้ามันอยู่ระหว่าง 22.64 36.30 cm2 และดัชนีการเกิดอิมัลชั่น ระหว่าง 72.65 75.44% และผลการผลิตสารจับใบข้าวในภาคสนามพบว่ามีค่า OD อยู่ระหว่าง 2.19 2.32 ในระยะเวลา 14 20 วัน เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้แตกต่างระหว่างก่อนและหลังอบรมอย่างมีนัยสาคัญทางถิติ โดยสามารถนาความรู้ที่ได้นี้มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาโรคข้าว ลดรายจ่ายและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้ จากการส่งต่อความรู้ในการผลิตและการจัดการความรู้ของสารจับใบพืชทางชีวภาพ พบว่าเกษตรกรสามารถนามาประยุกต์ใช้ในแปลงนาได้อย่างเหมาะสมมากที่สุด (x̄= 4.53) กระบวนการ ขั้นตอนการผลิตสารจับใบข้าวเหมาะสมมากที่สุด โดยเฉพาะสามารถดาเนินการได้ด้วยตนเอง (x̄= 4.51) นอกจากนั้นการจัดการความรู้ในทางปฏิบัติทางที่ดีสาหรับทานาแบบแบบอินทรีย์ของจังหวัดสุรินทร์ (GAP) พบว่าเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถนามาใช้ประโยชน์ได้ร้อยละ 100.00 และจากการติดตามประเมินผลโครงการพบว่าผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นในทุกพื้นที่เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ซึ่งสามารถลดอัตราการกิดโรคใบไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจากการประเมินผลตอบแทนของโครงการทางเศรษฐศาสตร์ พบว่ามีค่าสูงกว่าต้นทุนจานวน 1.25 เท่า (เฉลี่ยต่อเดือน) และนอกจากนั้นยังพบว่าเกษตรกรมีความประสงค์ในการจัดทาการผลิตสารจับใบข้าวในปีต่อไป เนื่องจากสามารถนามาใช้แก้ไขปัญหาโรคไหม้ในข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อการระบาดได้ และยังช่วยฟื้นฟูดินปนเปื้อนทางการเกษตร ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรค ควบคุมแมลงศัตรูพืช และกระตุ้นกลไกต้านทานโรคของพืช